Carpal tunnel syndrome โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
     กลุ่มอาการนี้เกิดขึ้นมากในกลุ่มคนทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งการทำงานในปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์ถือเป็นอุปกรณ์ออฟฟิตที่ทุกคนมีความจำเป็นต้องใช้งานและมีการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ และรวมถึงการใช้อุปกรณ์เสริมของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เม้าส์ เป็นเวลานานด้วยเช่นกัน โดยการใช้เม้าส์จะทำให้เราอยู่ในท่ากระดกข้อมือขึ้นเป็นเวลานาน ซึ่งนำไปสู่การกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้ และเกิดในแม่บ้านที่กวาดถูบ้าน ซักผ้า ตัดเย็บ และทำงานหนักของข้อมือซ้ำๆ อาการแสดงและการเกิดโรค  ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด โดยเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว  อาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะสังเกต เห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ บางครั้ง อาจพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืนบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือ แล้วมีอาการดีขึ้น  เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย  อายุที่พบบ่อยคือประมาณ 35-40 ปี  ผู้ที่ใช้ข้อมือกระดกขึ้นลงบ่อยๆ หรือทำงานที่มีการสั่นสะเทือน ของมือและแขนอยู่เป็นเวลานาน ดังนั้นจะพบโรคนี้ได้บ่อยในกลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว ซักผ้า พนักงานโรงงาน พนักงานขุด เจาะถนน แนวทางการรักษา  การใช้เผือกอ่อนดามข้อมือ  การใช้ยา ยาที่นิยมใช้คือยากลุ่ม NSAID ซึ่งเป็นยาแก้ปวดแก้อักเสบ เช่น aspirin, ibuprofen จะสามารถลดอาการปวดและอาการบวม  การใช้ยา steroid จะใช้รักษาในช่วงระยะเวลาไม่นาน การใช้ยานี้ควรจะอยู่ในการดูแลของแพทย์  รักษาทางกายภาพบำบัด โดยการประคบร้อน,การยืดเส้นประสาท ,การขยับกระดูกข้อมือ เพื่อให้ทางเดินของเส้นประสาทดีขึ้น,การใช้เครื่องมือทางกายภาพเพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาทและคลายพังผืดที่รัดบริเวณข้อมือร่วมกับการออกกำลังกาย  การผ่าตัดจะกระทำเมื่อ การรักษาด้วยยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่ได้ผลและในรายที่มีอาการรุนแรงกล้ามเนื้อฝ่อมักจะไม่ได้ผลเมื่อรักษาด้วยยา
วันที่  2016-10-14